ข่าวกิจกรรม
วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 09.30 น. เทศบาลตำบลเทพวงศา จัดการประชุมสภา สมัยสามัญ สมัยที่ 1 ครั้งที่ 1 ประจำปี 2567 ณ ห้องประชุมสภาเทศบาลตำบลเทพวงศา
วันศุกร์ที่ 17 พฤษภาคม 2567 เวลา 09.00 น.เทศบาลตำบลเทพวงศา จัดประชุมสภาเทศบาลตำบลเทพวงศา สมัยสามัญ สมัยที่2 ครั้งที่1 ประจำปี 2567 โดยมีนายสมคิด อินทร์หอม ประธานสภาเทศบาลตำบลเทพวงศา ดำเนินการเปิดการประชุมฯ ร่วมกับสมาชิกสภาเทศบาลตำบลเทพวงศา ในการนี้ นายอลงกต แสวงสุข นายกเทศมนตรีตำบลเทพวงศา พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร หัวหน้าส่วนราชการ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องฯเข้าร่วมประชุมเพื่อชี้แจงรายละเอียด/ภารกิจต่างๆเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของเทศบาลฯ ณ ห้องประชุมสภาเทศบาลตำบลเทพวงศา
ประชาสัมพันธ์ เรื่อง การสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุก เพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนด เทศบาลตำบลเทพวงศา ประจำปี 2566
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ประจำปี 2566
ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในปัจจุบันเมืองไทยเราได้กลายเป็นประเทศเปิดที่รับเอาความรู้และเทคโนโลยีของต่างชาติเข้ามาอย่างมากมาย ทำให้ไทยกลายเป็นประเทศที่มีความเจริญทางด้านเทคโนโลยี จากผลของการรับเอาวัฒนธรรมของชาติอื่นมานี้เอง ทำให้ประเทศของเรา ชุมชนของเรานึกถึงความสำคัญของภูมิปัญญาชาวบ้าน และเทคโนโลยีในท้องถิ่นอันดี ที่เคยสืบทอดกันมาช้านาน ปัจจุบัน วิถีชีวิตแบบดั้งเดิมของไทยเราส่วนมากจะยังคงปฏิบัติสืบทอดกันมาตามชนบทหรือ ตามท้องถิ่นห่างไกล ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญที่ยังคงมีการสืบทองภูมิปัญญาชาวบ้าน และเทคโนโลยีในท้องถิ่นอยู่ ดังนั้นการศึกษาภูมิปัญญาชาวบ้านของเราจึงเป็นการธำรงไว้ซึ่งศิลปวัฒนธรรมและวิถี ชีวิตของท้องถิ่นเหล่านั้นได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังเป็นการเผยแพร่ภูมิปัญญาในท้องถิ่นให้แก่ผู้ที่สนใจได้รับทราบและร่วมภูมิใจกับบุคลในท้องถิ่นด้วย ภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นและดำรงอยู่กับสังคมมนุษย์มาช้านานเป็นการดำรงในชีวิตที่เกี่ยวพันกับธรรมชาติของแต่ละท้องถิ่นโดยมีการปรับสภาพการดาเนินชีวิตให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมธรรมชาติตามกาลเวลา ความหมายของภูมิปัญญา พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๔๒ ได้ให้ความหมายของคำว่า ภูมิปัญญาไว้ว่า “พื้นความรู้ความสามารถ” ภูมิปัญญาหมายถึงทรัพยากรบุคคล ทรัพยากรความรู้ที่มีอยู่ในท้องถิ่นแต่ละแห่ง ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะคน หรือเป็นลักษณะสากล ที่หลายถิ่นมีคล้ายกันก็ได้ ภูมิปัญญา ชาวบ้านในแต่ละถิ่นเกิดจากการแสวงหาความรู้ เพื่อเอาชนะอุปสรรคทางธรรมชาติ ทางสังคม ที่จำเป็นในการดำรงชีวิต ภูมิปัญญานี้จึงเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและชาวบ้าน เช่น การประกอบพิธีกรรมของชุมชน หรือประเพณีการรวมกำลังช่วยกันทำงานใหญ่หลวงเกินวิสัยที่จะทำสำเร็จได้โดยคนเดียวเป็นต้น ภูมิปัญญาหมายถึง แบบแผนการดำเนินชีวิตที่มีคุณค่าแสดงถึงความเฉลียวฉลาดของบุคคล และสังคม ซึ่งได้สั่งสมและปฏิบัติสืบต่อกันมาภูมิปัญญาจะเป็นทรัพยากรของบุคคลหรือ ทรัพยากรความรู้ก็ได้ทรัพยากรความรู้ที่ถือว่าเป็นภูมิปัญญา ได้แก่ ความรู้ในสาขาอาชีพหรือวิชาการด้านต่างๆ เช่น การคัดเลือกพันธุ์ข้าว การถนอมอาหาร วัฒนธรรม ศิลปะ จารีตประเพณี เป็นต้นส่วนทรัพยากรบุคคลที่ถือว่าเป็นภูมิปัญญา ได้แก่ ชาวนาผู้ประสบความสำเร็จในการผลิต พราหมณ์ผู้เชี่ยวชาญในบายศรี เป็นต้น ภูมิปัญญาท้องถิ่น (local wisdom) หรือ ภูมิปัญญาชาวบ้าน (popular wisdom) เป็นคำที่รู้จักกันมานานพอสมควร เป็นคำที่มีความหมายลึกซึ้ง หลายแง่มุม ซึ่งมีนักวิชาการได้ให้ความหมายไว้ในแง่มุมต่างกัน ดังนี้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local Wisdom) หรือภูมิปัญญาชาวบ้าน (Popular Wisdom) หรือปัญญาชนชาวบ้านหรือปัญญาชนท้องถิ่น (Intellectual Organic) หมายถึง “พื้นเพรากฐานของความรู้ของชาวบ้าน หรือความรอบรู้ของชาวบ้านที่เรียนรู้และสั่งสมประสบการณ์สืบเนื่องต่อกันมาทั้งทางตรง คือ ประสบการณ์ด้วยตนเองหรือทางอ้อมซึ่งเรียนรู้จากผู้ใหญ่ หรือความรู้ที่สะสมสืบต่อกันมา” (สามารถ จันทร์สูรย์,๒๕๓๓ อ้างถึงใน สำเนียง สร้อยนาคพงษ์,๒๕๓๕:๒๔) ภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือภูมิปัญญาแห่งชีวิต ทำให้สังคมดำรงอยู่ได้มาเป็นเวลานาน เพราะสังคมเปรียบเสมือนมนุษย์ หากไม่มีสอนหรือปัญญาย่อมไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ (ประเวศ วสี,๒๕๓๔) อ้างถึงใน นิลุบล คงเกตุ,๒๕๔๐ หน้า ๔๓) วันเพ็ญ พวงพันธุ์บุตร (๒๕๔๒:๑๐๘) ให้ทัศนะเกี่ยวกับภูมิปัญญาไทยว่า หมายถึงองค์ความรู้ทั้งหลายที่มีการสั่งสมและถ่ายทอดสืบต่อกันมาของชาติไทย โดยการคิดค้นปรับเปลี่ยนผสมผสานกับ ความรู้ใหม่ และพัฒนาให้เหมาะสม เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต มีความเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง รุ่ง แก้วแดง (๒๕๔๓:๒๐๔) ได้กล่าวถึงภูมิปัญญาไทยว่า หมายถึง องค์ความรู้ ความสามารถและทักษะของคนไทย อันเกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ที่ผ่านกระบวนการเลือกสรรเรียนรู้พัฒนาและถ่ายทอดสืบต่อกันมา เพื่อใช้แก้ปัญหาและพัฒนาวิถีชีวิตของคนไทยให้สมดุลกับสภาพแวดล้อมและเหมาะสมกับยุคสมัย รัตนะ บัวสนธิ์ (๒๕๓๕:๓๕) กล่าวว่า ภูมิปัญญาท้องถิ่น หมายถึงกระบวนทัศน์ชองบุคคลที่มีต่อตนเอง ต่อโลกและสิ่งแวดล้อม ซึ่งกระบวนทัศน์ดังกล่าวมีรากฐานจากคาสอนทางศาสนา คติ จารีตประเพณีที่ได้รับการถ่ายทอด สั่งสอนและปฏิบัติสืบเนื่องกันมา ปรับเข้ากับบริบททางสังคมที่เปลี่ยนแปลง แต่ละสมัย ทั้งนี้โดยมีเป้าหมายเพื่อความสงบสุขของส่วนที่เป็นชุมชน และปัจเจกบุคคล สรุปได้ว่า ภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือภูมิปัญญาชาวบ้าน จะเป็นทุกสิ่งทุกอย่างที่ชาวบ้านคิดขึ้นได้เอง และนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหา เป็นเทคนิควิธี เป็นองค์ความรู้ของชาวบ้าน ทั้งทางกว้างและทางลึกที่ชาวบ้านคิดทำ โดยอาศัยศักยภาพที่มีอยู่แก้ปัญหาการดำเนินชีวิตในท้องถิ่นได้อย่างเหมาะสมกับยุคสมัย ประเภทของภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น หมายร่วมถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่ชาวบ้าน คิดค้นขึ้น แล้วนามาปรับปรุงแก้ไขพัฒนาแก้ปัญหา เป็นทั้ง สติปัญญาและองค์ความรู้ทั้งหมดของชาวบ้าน ดังนั้น จึงมีความครอบคลุมเนื้อหาสาระและแนวทางดำเนินชีวิตในวงกว้าง ภูมิปัญญาท้องถิ่นประกอบไปด้วยองค์ความรู้ใน หลายวิชาดังที่ สานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (๒๕๔๑) ได้จำแนกไว้รวม ๑๐ สาขา คือ ๑. สาขาเกษตรกรรม หมายถึง ความสามารถในการผสมผสานองค์ความรู้ ทักษะ และเทคนิคด้านการเกษตรกับเทคโนโลยี โดยการพัฒนาบนพื้นฐาน คุณค่าดั้งเดิม ซึ่งคนสามารถพึ่งพาตนเองในสภาวการณ์ต่างๆ ได้ เช่น การทำการเกษตรแบบผสมผสาน การแก้ปัญญา การเกษตร เป็นต้น ๒. สาขาอุตสาหกรรมและหัตถกรรม (ด้านการผลิตและการบริโภค) หมายถึง การรู้จักประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการแปรรูปผลผลิตเพื่อ ชะลอการนำเข้าตลาด เพื่อแก้ปัญหาด้านการบริโภคอย่างปลอดภัยประหยัด และเป็นธรรมอันเป็นกระบวนการให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถพึ่งตนเองทาง เศรษฐกิจได้ ตลอดทั้งการผลิตและการจัดจำหน่ายผลผลิตทางหัตถกรรม เช่น การรวมกลุ่มของกลุ่มโรงงานยางพารา กลุ่มหัตถกรรม และอื่นๆ เป็นต้น ๓. สาขาการแพทย์ไทย หมายถึง ความสามารถในการจัดการป้องกัน และรักษาสุขภาพของคนในชุมชน โดยเน้นให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองทางด้านสุขภาพและอนามัยได้ ๔. สาขาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หมายถึง ความสามารถเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งอนุรักษ์การพัฒนา และใช้ประโยชน์จากคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล และยั่งยืน ๕. สาขากองทุนและธุรกิจชุมชน หมายถึง ความสามารถในด้านบริหารจัดการค้าการสะสมและบริการกองทุนและธุรกิจในชุมชน ทั้งที่เป็นเงินตราและโภคทรัพย์ เพื่อเสริมชีวิตความเป็นอยู่ของสมาชิกในชุมชน ๖. สาขาสวัสดิการ หมายถึง ความสามารถในการจัดสวัสดิการในการประกันคุณภาพชีวิตของคนให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ๗. สาขาศิลปกรรม หมายถึง ความสามารถในการผลิตผลงานทางด้านศิลปะ สาขาต่างๆ เช่น จิตกรรม ประติมากรรม วรรณกรรม ทัศนศิลป์ คีตศิลป์ เป็นต้น ๘. สาขาจัดการ หมายถึง ความสามารถในการบริหารการจัดการดำเนินงานด้านต่างๆ ทั้งขององค์กรชุมชน องค์กรทางสังคมอื่นๆ ในสังคมไทย เช่น การจัดการองค์กรของกลุ่มแม่บ้านระบบผู้เฒ่าผู้แก่ในชุมชน เป็นต้น กรณีของการจัดการศึกษาเรียนรู้นับได้ว่าเป็นภูมิปัญญาสาขาการจัดการที่มีความสำคัญ เพราะการจัดการศึกษาเรียนรู้ดี หมายถึงกระบวนการเรียนรู้ พัฒนาและถ่ายทอดความรู้ภูมิปัญญาไทยที่มีประสิทธิผล ๙.สาขาภาษาและวรรณกรรม หมายถึง ความสามารถผลิตผลงานเกี่ยวกับด้านภาษา ทั้งภาษาถิ่น ภาษาโบราณ ภาษาไทย และการใช้ ภาษา ตลอดทั้งด้านวรรณกรรมทุกประเภท ๑๐. สาขาศาสนาและประเพณีหมายถึง ความสามารถประยุกต์ และปรับใช้หลักธรรมคำสอนทางศาสนาความเชื่อและประเพณีดั้งเดิมที่มีคุณค่า ให้เหมาะสมต่อการประพฤติปฏิบัติให้บังเกิดผลดีต่อบุคคล และสิ่งแวดล้อม เช่น การถ่ายทอดหลักศาสนา การบวชป่า การประยุกต์ประเพณี บุญประทายข้าว เป็นต้น
เทศบาลตำบลเทพวงศา ประกาศรับสมัคร... อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก (อถล.) คือ บุคคลที่มีความสนใจ มีความสมัครใจ มีความเสียสละและจิตอาสาในการทำงานด้านการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย การป้องกันและรักษาสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นของตนเอง โดยผู้สมัครต้องมีคุณสมบัติดังนี้ 1. มีสัญชาติไทย 2. มีอายุไม่ต่ำกว่า ๗ ปีบริบูรณ์ 3. มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตตำบลเทพวงศา 4. มีความสมัครใจและมีจิตอาสาเข้ามาร่วมดำเนินกิจกรรมด้านการบริหารจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย รวมถึงการปกป้องและรักษาสิ่งแวดล้อม 5. เป็นบุคคลที่มีความเสียสละและอุทิศตัวในการทำงานเพื่อส่วนรวม 6. เป็นบุคคลที่ตระหนักถึงการทำงานโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมเป็นสำคัญ หลักฐานการสมัคร 1. บัตรประจำตัวประชาชนและเลขบัตรประจำตัวประชาชน ๑๓ หลัก สามารถสมัครได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ในวัน และเวลาทำการ ณ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลตำบลเทพวงศา อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี
งานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ลงพื้นที่ออกฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ตามโครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้า ประจำปีงบประมาณ 2566 รวมทั้งอบรมให้ความรู้แกประชาชนในการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ทั้งหมด 17 หมู่บ้าน ในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลเทพวงศา
โครงการป้องกันและควบคุมโรคที่เกิดจากยุงลาย ประจำปีงบประมาณ 2566 นายอลงกต แสวงสุข นายกเทศมนตรีตำบลเทพวงศา ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดงานโครงการ โดย งานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม สำนักปลัดเทศบาลตำบลเทพวงศา วันที่ 5 กรกฎาคม 2566
โครง Big cleaning day ประจำปีงบประมาณ 2566 เจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลเทพวงศา ทุกส่วนงานและอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลกเทศบาลตำบลเทพวงศา ร่วมแรงร่วมใจ กันเก็บขยะ ตามบริเวณริมฝั่งถนนเส้นทางหลักทั้งสองข้างทาง เพื่อความสะอาด ของบ้านเมืองเรา!! 2 กุมภาพันธ์ 2566
กิจกรรมการตรวจสุขภาพประชนชนเบื้องต้น และการอบรมการดูแลสุขภาพประชาชน เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพของตนเอง ไม่ให้เกิดโรคภัยต่างๆ และเพื่อหาปัจจัยเสี่ยงต่อโรคต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง และยังมีตรวจ การมองเห็น การได้ยิน ตลอดจนประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ ในวันที่ 18 มกราคม 2566 เวลา 09.30 น. ณ ศาลาประชาคม หมู่ที่ 3 บ้านนาสนาม อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี
โครงการ เฝ้าระวังสารพิษตกค้างในเลือดของเกษตรกร ประจำปีงบประมาณ 2566 งานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม สำนักปลัด เทศบาลตำบลเทพวงศา ดำเนินโดย นายอลงกต แสวงสุข นายกเทศมนตรีตำบลเทพวงศา ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิด ซึ่งในโครงการครั้งนี้ มีคณะผู้บริหาร คณะฝ่ายสภาเทศบาล หัวหน้าส่วนราชการ ผู้นำชุมชน อสม. และ คณะครูพร้อมนักเรียน เข้าร่วมโครงการดังกล่าวฯ ณ สำนักงานเทศบาลตำบลเทพวงศา..วันที่ 19 กรกฎาคม 2566
ประชาสัมพันธ์ขยะอันตรายชุมชน โดยสามารถนำมาทิ้ง ณ จุดรับขยะอันตรายของเทศบาลตำบลเทพวงศา บริเวณศาลาประชาคมหมู่บ้าน
“เทศบาลตำบลเทพวงศา จัดปฐมนิเทศผู้ปกครองนักเรียน โรงเรียนเทศบาลเทพวงศา 2 ประจำภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 ” วันจันทร์ที่ 13 พฤษภาคม 2567 เวลา 09.00 น. นายอลงกต แสวงสุข นายกเทศมนตรีตำบลเทพวงศา มอบหมายให้นายจักรพงษ์ ธนะวงศ์ ผู้อำนวยการกองการศึกษา รักษาการในตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนเทศบาลเทพวงศา 2 จัดการปฐมนิเทศผู้ปกครองนักเรียน โรงเรียนเทศบาลเทพวงศา 2 ประจำภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 ณ โรงเรียนเทศบาล เทพวงศา 2 บ้านดงหนองหลวง หมู่ที่ 14 ตำบลเขมราฐ อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อให้ผู้ปกครองนักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา รับทราบนโยบายการจัดการเรียนการสอน แนวทางปฏิบัติ กฎระเบียบต่างๆ หลักสูตรการเรียนการสอน และการประสานเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียน ผู้ปกครอง คณะผู้บริหาร คณะกรรมการสถานศึกษา อย่างเหมาะสมและทั่วถึง ในการพัฒนาการศึกษา การมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยให้มีความพร้อมสำหรับศึกษาเล่าเรียนในระดับสูงขึ้นต่อไป ตลอดจนเพื่อเปิดโอกาสให้คณะผู้บริหารเทศบาลตำบลเทพวงศา คณะกรรมการสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครองนักเรียน มีส่วนร่วมวางแผนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน า
วันจันทร์ที่ 13 พฤษภาคม 2567 เวลา 10.00 น. เทศบาลตำบลเทพวงศา จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) ระหว่าง เทศบาลตำบลเทพวงศา กับ สำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 เรื่อง การถ่ายโอนภารกิจด้านการจัดการศึกษาของโรงเรียนบ้านหนองหลวง สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ให้แก่ เทศบาลตำบลเทพวงศา สังกัดกระทรวงมหาดไทย โดยมี นายอลงกต แสวงสุข นายกเทศมนตรีตำบลเทพวงศา ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) กับ ว่าที่ร้อยตรีวิชชากร วงศ์จริยะภรณ์ ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 ณ ห้องประชุมเทศบาลตําบลเทพวงศา
เทศบาลตำบลเทพวงศา ลงพื้นที่มอบวัสดุอุปกรณ์เพื่อประกอบอาชีพให้กับราษฎรที่ขาดแคลนรายได้ ในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลเทพวงศา วันพุธที่ 8 พฤษภาคม 2567 นายอลงกต แสวงสุข นายกเทศมนตรีตำบลเทพวงศา มอบหมายให้ นายแสวง เคนสุวรรณ รองนายกเทศมนตรีตำบลเทพวงศา พร้อมด้วย นายสมคิด อินทร์หอม ประธานสภาเทศบาลตำบลเทพวงศา พร้อมคณะฯ ลงพื้นที่มอบวัสดุอุปกรณ์เพื่อประกอบอาชีพให้กับราษฎรที่ขาดแคลนรายได้ ซึ่งเป็นความร่วมมือร่วมระหว่างเทศบาลตำบลเทพวงศา และโครงการวิจัยกระบวนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วม โดยใช้ข้อมูลคนจนในครัวเรือนยากจนเพื่อการพัฒนาในทิศทางที่ดีขึ้น ในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลเทพวงศา
“เทศบาลตำบลเทพวงศา บริการงานโดย นายอลงกต แสวงสุข นายกเทศมนตรีตำบลเทพวงศา ดำเนินกิจกรรม การเรียน-การสอนของโรงเรียนผู้สูงอายุ รุ่นที่ 7 วันที่ 1 พฤษภาคม 2567 งานพัฒนาชุมชน สำนักปลัด เทศบาลตำบลเทพวงศา ดำเนินกิจกรรม การเรียน-การสอนของโรงเรียนผู้สูงอายุ รุ่นที่ 7 ในครั้งนี้ เรียนเชิญวิทยากรจากทีมเทศบาลตำบลเทพวงศา จัดกิจกรรมนันทนาการการสานสัมพันธ์สูงวัยใส่ใจสุขภาพ ณ อาคารโรงเรียนผู้สูงอายุ เทศบาลตำบลเทพวงศา
งานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม สำนักปลัด เทศบาลตำบลเทพวงศา ดำเนินโครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัยจากพิษสุนัขบ้า ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ การดำเนินงานโครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัยจากพิษสุนัขบ้า ตามพระปณิธานศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ประจำปีงบประมาณ 2567 ระหว่างวันที่ 1 – 26 เมษายน 2567 ??นายอลงกต แสวงสุข นายกเทศมนตรีตำบลเทพวงศา มอบหมายให้ เจ้าหน้าที่งานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม สำนักปลัด เทศบาลตำบลเทพวงศา ลงพื้นที่ฉีดวัคซีนสุนัขและแมว ณ บ้านสามแยกถ้ำเสือ หมู่ที่ 17 ตามโครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัยจากพิษสุนัขบ้า ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ การดำเนินงานโครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัยจากพิษสุนัขบ้า ตามพระปณิธานศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ประจำปีงบประมาณ 2567 ?สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ งานสาธารสุขและสิ่งแวดล้อม สำนักปลัด สำนักงานเทศบาลตำบลเทพวงศา หมายเลขโทรศัพท์ 045-900742 ?ภาพ/ข่าว งานประชาสัมพันธ์ กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ : งานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลเทพวงศา
เทศบาลตำบลเทพวงศา บริหารงานโดย นายอลงกต แสวงสุข นายกเทศมนตรีตำบลเทพวงศา จัดงานเที่ยวฮิมของ ในวันศุกร์ที่ 29 มีนาคม 2567 เริ่มตั้งแต่เวลา 09.00 น.เป็นต้นไป ณ ตลาดท่าฮิมของ แก่งช้างหมอบ บ้านห้วยยาง ตำบลเขมราฐ อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี ภายในงานจัดกิจกรรมต่างๆมากมาย - การแข่งขันกีฬาเซปักตะกร้อ(ภายใน) - ชมหนังกลางแปลง - การแสดงวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขงจากชุมชน - การออกร้านจำหน่ายสินค้าและกิจกรรมต่างๆมากมาย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กองการศึกษา สำนักงานเทศบาลตำบลเทพวงศา หมายเลขโทรศัพท์ 087-4392244/061-0298554 ภาพ/ข่าว งานประชาสัมพันธ์ กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ : นางสาวจิราพร สมสูง และ นายยงยุทธ สืบดี
ประชาสัมพันธ์ เรื่องการประชาสัมพันธ์ จัดตั้งระเบียบของธนาคารขยะและรับสมัครสมาชิกธนาคารขยะ เทศบาลตำบลเทพวงศา
เทศบาลตำบลเทพวงศา จัดโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระ เทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ฐานทรัพยากรท้องถิ่น สนองพระราชดำริ (ฐานทรัพยากรท้องถิ่น อพ.สธ.-เทศบาลตำบลเทพวงศา) ประจำปีงบประมาณ 2567⚜️ วันที่ 4 มีนาคม 2567 นายอลงกต แสวงสุข นายกเทศมนตรีตำบลเทพวงศา ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ฐานทรัพยากรท้องถิ่น สนองพระราชดำริ โดย นายจักพงศ์ อุระ ผู้อำนวยการโรงเรียนนาสนามนาหว้าเกษม กล่าวรายงาน ซึ่งวัตถุประสงค์การจัดโครงการครั้งนี้เพื่อสนองพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ในการสนับสนุนงานกิจกรรมต่างๆ ซึ่งนำมาดำเนินการจัดทำฐานข้อมูลทรัพยากรท้องถิ่น และเพื่อจัดตั้งศูนย์อนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรท้องถิ่น เทศบาลตำบลเทพวงศา ภายในงาน มีการบรรยายให้ความรู้เรื่องโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช กิจกรรมนันทนาการ ละลายพฤติกรรม และลงพื้นที่สำรวจและเก็บข้อมูลแหล่งเรียนรู้ วิทยากรโดย จ่าสิบเอกปราโมทย์ จันทมา เจ้าพนักงานป้องกันบรรเทาสาธารณภัย ระดับชำนาญงาน องค์การบริหารส่วนตำบลโนนโหนน อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งผู้เข้าร่วมโครงการนั้น ประกอบด้วย คณะครู เด็กนักเรียน จำนวน 77 คน ณ หอประชุมโรงเรียนบ้านนาสนามนาหว้าเกษม สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ งานเกษตร สำนักงานเทศบาลตำบลเทพวงศา หมายเลขโทรศัพท์ 045-900742 ภาพ/ข่าว งานประชาสัมพันธ์ กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ : นางสาวจิราพร สมสูง และ นายยงยุทธ สืบดี